คำสั่ง switch เป็นคำสั่งที่ใช้ในการตรวจสอบเงื่อนไขคล้ายๆ กับคำสั่ง if แต่จะเหมาะกับเงื่อนไขที่มีหลายๆ ทางเลือกมากกว่า และอาจจะทำให้การเขียนโปรแกรมดูง่ายมากขึ้น
รูปแบบคำสั่ง switch
switch(ตัวแปรที่จะตรวจสอบเงื่อนไข) {
case ค่าของตัวแปร : คำสั่งที่ต้องการให้ทำถ้าเงื่อนไขเป็นจริง ; break;
case ค่าของตัวแปร : คำสั่งที่ต้องการให้ทำถ้าเงื่อนไขเป็นจริง ; break;
case ค่าของตัวแปร : คำสั่งที่ต้องการให้ทำถ้าเงื่อนไขเป็นจริง ; break;
case ค่าของตัวแปร : คำสั่งที่ต้องการให้ทำถ้าเงื่อนไขเป็นจริง ; break;
}
จากรูปแบบเริ่มต้นในบรรทัดแรกคือการตรวจสอบค่าของตัวแปรก่อน ซึ่งถ้าค่าของตัวแปรตรงกับ case ไหนโปรแกรมก็จะเริ่มทำใน case นั้นๆ หลังเครื่องหมาย : (Colon) สังเกตว่าหลังจากจบแต่ละ case จะต้องมีคำสั่ง break; ถามว่าไม่มีได้ไหม คำตอบคือได้โปรแกรมไม่ได้แสดงข้อผิดพลาดแต่อย่างใดแต่หลังจากจบ case นั้นแล้ว โปรแกรมจะทำ case ต่อไปอีกเรื่อยๆ จนกว่าจะเจอคำสั่ง break; หรือจบโปรแกรม มาดูตัวอย่างกันบ้าง สมมุติเขียนโปรแกรมรับค่าการเลือกของผู้ใช้ ถ้าเลือก 1 ให้แสดงคำว่า ONE ถ้าเลือก 2 ให้แสดงคำว่า TWO และถ้าเลือก 3 ให้แสดงคำว่า THREE
ตัวอย่าง
<?php
switch($choice) {
case 1:
echo "ONE";
break;
case 2:
echo "TWO";
break;
case 3:
echo "THREE";
break;
}
?>
วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
[PHP] WHILE
คำสั่ง while เป็นคำสั่งที่ใช้ตรวจสอบเงื่อนไข และทำซ้ำคำสั่งคล้ายๆ กับคำสั่ง for
รูปแบบคำสั่ง while()
while(ตรวจสอบเงื่อนไข) {
คำสั่งที่ต้องการให้ทำถ้าเงื่อนไขเป็นจริง
...................................................
}
เริ่มคำสั่ง while ภายในวงเล็บจะเป็นการกำหนดเงื่อนไขให้ตรวจสอบ ถ้าตรวจสอบเงื่อนไขแล้วเป็นจริง จึงจะทำคำสั่งที่อยู่ภายในปีกกา หลังจากทำคำสั่งภายในปีกกาหมดแล้วจะวนกลับไปตรวจสอบเงื่อนไขใหม่เรื่อยๆ จนกว่าผลของการตรวจสอบเงื่อนไขจะเป็นเท็จ สมมุติจะให้แสดงตัวเลขตั้งแต่ 1-10 ด้วยคำสั่ง while เขียนได้ดังนี้
ตัวอย่าง
<?php
$i=1;
while($i<=10) {
echo $i."<br />";
$i++;
}
?>
จากตัวอย่างเราต้องกำหนดค่าเริ่มต้นก่อน โดยตั้งตัวแปร i ให้มีค่าเท่ากับ 1 แล้วขึ้นคำสั่ง while เงื่อนไขคือ i ต้องน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 ซึ่งในกรณีนี้ i มีค่าน้อยกว่าเงื่อนไขเป็นจริง ทำคำสั่งภายในปีกกาแสดงค่า i แล้วขึ้นบรรทัดใหม่ จากนั้นให้เพิ่มค่า i เข้าไป 1 ทำให้ค่า i เป็น 2 จากนั้นจะวนไปตรวจสอบเงื่อนไขใหม่อีก และจะแสดงผลไปเรื่อยๆ จนค่า i มากกว่า 10 จึงจะหยุดการทำซ้ำ
ผลลัพธ์
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
รูปแบบคำสั่ง while()
while(ตรวจสอบเงื่อนไข) {
คำสั่งที่ต้องการให้ทำถ้าเงื่อนไขเป็นจริง
...................................................
}
เริ่มคำสั่ง while ภายในวงเล็บจะเป็นการกำหนดเงื่อนไขให้ตรวจสอบ ถ้าตรวจสอบเงื่อนไขแล้วเป็นจริง จึงจะทำคำสั่งที่อยู่ภายในปีกกา หลังจากทำคำสั่งภายในปีกกาหมดแล้วจะวนกลับไปตรวจสอบเงื่อนไขใหม่เรื่อยๆ จนกว่าผลของการตรวจสอบเงื่อนไขจะเป็นเท็จ สมมุติจะให้แสดงตัวเลขตั้งแต่ 1-10 ด้วยคำสั่ง while เขียนได้ดังนี้
ตัวอย่าง
<?php
$i=1;
while($i<=10) {
echo $i."<br />";
$i++;
}
?>
จากตัวอย่างเราต้องกำหนดค่าเริ่มต้นก่อน โดยตั้งตัวแปร i ให้มีค่าเท่ากับ 1 แล้วขึ้นคำสั่ง while เงื่อนไขคือ i ต้องน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 ซึ่งในกรณีนี้ i มีค่าน้อยกว่าเงื่อนไขเป็นจริง ทำคำสั่งภายในปีกกาแสดงค่า i แล้วขึ้นบรรทัดใหม่ จากนั้นให้เพิ่มค่า i เข้าไป 1 ทำให้ค่า i เป็น 2 จากนั้นจะวนไปตรวจสอบเงื่อนไขใหม่อีก และจะแสดงผลไปเรื่อยๆ จนค่า i มากกว่า 10 จึงจะหยุดการทำซ้ำ
ผลลัพธ์
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
[PHP] FOR...
คำสั่ง for เป็นคำสั่งที่ใช้ในการทำซ้ำตามเงื่อนไขที่กำหนด ในการเขียนโปรแกรมบางทีถ้าต้องแสดงข้อมูลที่ซ้ำๆ กันอาจจะซ้ำกัน 20 บรรทัด เราไม่จำเป็นต้องเขียนโค้ด 20 บรรทัดก็ได้ โดยนำคำสั่ง for() มาช่วยในการทำวนรอบทำข้อมูลซ้ำๆ กันออกมาซึ่งเขียนไม่ถึง 20 บรรทัด
รูปแบบคำสั่ง for
for( กำหนดค่าเริ่มต้น ; ตรวจสอบเงื่อนไข ; การปรับปรุงค่าในรอบต่อไป) {
คำสั่งที่ต้องการให้ทำถ้าเงื่อนไขเป็นจริง
...................................................
}
เมื่อเริ่มคำสั่ง for ให้กำหนดค่าเริ่มต้นในการทำซ้ำก่อน จากนั้นจะทำการตรวจสอบเงื่อนไขและปรับปรุงค่าของตัวแปรที่เรากำหนดไว้ ดูตัวอย่างเลย ถ้าต้องการแสดงค่าของตัวเลขตั้งแต่ 1-10
ตัวอย่าง
<?php
for($i=1;$i<=10;$i++) {
echo "$i<br />";
}
?>
จากตัวอย่าง กำหนดให้ตัวแปร i มีค่าเริ่มต้นที่ 1 ต่อมาตรวจสอบเงื่อนไข ค่าของ i น้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 หรือไม่ และสุดท้ายเพิ่มค่าให้ตัวแปร i อีก 1 ซึ่งจากโค้ดจะแสดงค่าของ i และขึ้นบรรทัดใหม่ ในรอบแรก i มีค่าเท่ากับ 1 รอบต่อมา i ถูกเพิ่มค่าให้อีก 1 เป็น 2 ทำการตรวจสอบเงื่อนไขอีกว่าน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 ใหม่ถ้าใช่ก็แสดงค่าของ i และขึ้นบรรทัดใหม่ เพิ่มค่าให้ i อีก 1 และวนไปเรื่อยๆ จนกว่า i จะมากกว่า 10 ทำให้เงื่อนไขเป็นเท็จก็จะถือว่าจบการทำซ้ำ
รูปแบบคำสั่ง for
for( กำหนดค่าเริ่มต้น ; ตรวจสอบเงื่อนไข ; การปรับปรุงค่าในรอบต่อไป) {
คำสั่งที่ต้องการให้ทำถ้าเงื่อนไขเป็นจริง
...................................................
}
เมื่อเริ่มคำสั่ง for ให้กำหนดค่าเริ่มต้นในการทำซ้ำก่อน จากนั้นจะทำการตรวจสอบเงื่อนไขและปรับปรุงค่าของตัวแปรที่เรากำหนดไว้ ดูตัวอย่างเลย ถ้าต้องการแสดงค่าของตัวเลขตั้งแต่ 1-10
ตัวอย่าง
<?php
for($i=1;$i<=10;$i++) {
echo "$i<br />";
}
?>
จากตัวอย่าง กำหนดให้ตัวแปร i มีค่าเริ่มต้นที่ 1 ต่อมาตรวจสอบเงื่อนไข ค่าของ i น้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 หรือไม่ และสุดท้ายเพิ่มค่าให้ตัวแปร i อีก 1 ซึ่งจากโค้ดจะแสดงค่าของ i และขึ้นบรรทัดใหม่ ในรอบแรก i มีค่าเท่ากับ 1 รอบต่อมา i ถูกเพิ่มค่าให้อีก 1 เป็น 2 ทำการตรวจสอบเงื่อนไขอีกว่าน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 ใหม่ถ้าใช่ก็แสดงค่าของ i และขึ้นบรรทัดใหม่ เพิ่มค่าให้ i อีก 1 และวนไปเรื่อยๆ จนกว่า i จะมากกว่า 10 ทำให้เงื่อนไขเป็นเท็จก็จะถือว่าจบการทำซ้ำ
วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
[PHP] เงื่อนไข IF...ELSE
คำสั่ง if เป็นคำสั่งที่ใช้ในการตรวจสอบเงื่อนไข ในการเขียนโปรแกรมบางทีเราอาจจะต้องกำหนดทางเลือกให้กับระบบ เช่น ถ้าค่าของตัวเลขมากกว่าที่กำหนดให้ระบบทำอะไร หรือ ถ้าน้อยกว่าที่กำหนดให้ระบบทำอะไร ซึ่งมีเงื่อนไขแบบทางเลือกเดียว เงื่อนไขแบบสองทางเลือกและเงื่อนไขแบบหลายทางเลือก
รูปแบบของคำสั่ง if (แบบทางเลือกเดียว)
if( เงื่อนไขที่ตรวจสอบ ) {
คำสั่งที่ต้องการให้ทำถ้าเงื่อนไขเป็นจริง
...................................................
}
เริ่มต้นให้เขียน if ตามด้วยวงเล็บเปิดใส่เงื่อนไขที่ต้องการตรวจสอบลงไปแล้ววงเล็บปิด ถ้าผลการตรวจสอบเงื่อนไขเป็นจริงให้ทำคำสั่งที่ระบุภายในปีกกา
ตัวอย่างที่ 1
สมมุติว่าต้องการจะแสดงผลทางหน้าจอ ถ้าอายุมากกว่า 40 ให้แสดงคำว่า "Old"
รูปแบบของคำสั่ง if (แบบสองทางเลือก)
if( เงื่อนไขที่ตรวจสอบ ) {
คำสั่งที่ต้องการให้ทำถ้าเงื่อนไขเป็นจริง
...................................................
} else {
คำสั่งที่ต้องการให้ทำถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จ
...................................................
}
เริ่ม ต้นให้เขียน if ตามด้วยวงเล็บเปิดใส่เงื่อนไขที่ต้องการตรวจสอบลงไปแล้ววงเล็บปิด ถ้าผลการตรวจสอบเงื่อนไขเป็นจริงให้ทำคำสั่งที่ระบุภายในปีกกา และถ้าตรวจสอบเงื่อนไขแล้วเป็นเท็จจะทำคำสั่งที่อยู่หลัง else
ตัวอย่างที่ 2
สมมุติว่าต้องการจะแสดงผลทางหน้าจอ ถ้าอายุมากกว่า 40 ให้แสดงคำว่า "Old" แต่ถ้าไม่ใช่ให้แสดงคำว่า "Not Old"
<?php
if($age>40) {
echo "Old";
} else {
echo "Not Old";
}
?>
รูปแบบของคำสั่ง if (แบบหลายทางเลือก)
if( เงื่อนไขที่ตรวจสอบ ) {
คำสั่งที่ต้องการให้ทำถ้าเงื่อนไขเป็นจริง
...................................................
} else if( เงื่อนไขที่ตรวจสอบ ) {
คำสั่งที่ต้องการให้ทำถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จ
...................................................
} else {
คำสั่งที่ต้องการให้ทำถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จ
...................................................
}
เริ่ม ต้นให้เขียน if ตามด้วยวงเล็บเปิดใส่เงื่อนไขที่ต้องการตรวจสอบลงไปแล้ววงเล็บปิด ถ้าผลการตรวจสอบเงื่อนไขเป็นจริงให้ทำคำสั่งที่ระบุภายในปีกกา ถ้าผลการตรวจสอบเงื่อนไขเป็นเท็จให้มาตรวจสอบเงื่อนไขต่อไปเป็นจริงให้ทำคำสั่งที่ระบุภายในปีกกา แต่ถ้าตรวจสอบเงื่อนไขแล้วเป็นเท็จหมดทุกเงื่อนไขจะทำคำสั่งที่อยู่หลัง else ซึ่งจะเป็นส่วนที่อยู่ท้ายสุด
ตัวอย่างที่ 3
สมมุติว่าต้องการจะแสดงผลทางหน้าจอ ถ้าอายุมากกว่า 50 ให้แสดงคำว่า "Old" ถ้าอายุมากกว่า 30 ให้แสดงคำว่า "Adult" ถ้าน้อยกว่า 30 ให้แสดงคำว่า "Teen" และถ้าอายุน้อยกว่า 0 หรือมากกว่า 100 ให้แสดงคำว่า "Error"
<?php
if(($age>100) || ($age<0)) {
echo "Error";
} else if($age>50) {
echo "Old";
} else if($age>30) {
echo "Adult";
} else {
echo "Teen";
}
?>
รูปแบบของคำสั่ง if (แบบทางเลือกเดียว)
if( เงื่อนไขที่ตรวจสอบ ) {
คำสั่งที่ต้องการให้ทำถ้าเงื่อนไขเป็นจริง
...................................................
}
เริ่มต้นให้เขียน if ตามด้วยวงเล็บเปิดใส่เงื่อนไขที่ต้องการตรวจสอบลงไปแล้ววงเล็บปิด ถ้าผลการตรวจสอบเงื่อนไขเป็นจริงให้ทำคำสั่งที่ระบุภายในปีกกา
ตัวอย่างที่ 1
สมมุติว่าต้องการจะแสดงผลทางหน้าจอ ถ้าอายุมากกว่า 40 ให้แสดงคำว่า "Old"
<?php
if($age>40) {
echo "Old";
}
?>
รูปแบบของคำสั่ง if (แบบสองทางเลือก)
if( เงื่อนไขที่ตรวจสอบ ) {
คำสั่งที่ต้องการให้ทำถ้าเงื่อนไขเป็นจริง
...................................................
} else {
คำสั่งที่ต้องการให้ทำถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จ
...................................................
}
เริ่ม ต้นให้เขียน if ตามด้วยวงเล็บเปิดใส่เงื่อนไขที่ต้องการตรวจสอบลงไปแล้ววงเล็บปิด ถ้าผลการตรวจสอบเงื่อนไขเป็นจริงให้ทำคำสั่งที่ระบุภายในปีกกา และถ้าตรวจสอบเงื่อนไขแล้วเป็นเท็จจะทำคำสั่งที่อยู่หลัง else
ตัวอย่างที่ 2
สมมุติว่าต้องการจะแสดงผลทางหน้าจอ ถ้าอายุมากกว่า 40 ให้แสดงคำว่า "Old" แต่ถ้าไม่ใช่ให้แสดงคำว่า "Not Old"
<?php
if($age>40) {
echo "Old";
} else {
echo "Not Old";
}
?>
รูปแบบของคำสั่ง if (แบบหลายทางเลือก)
if( เงื่อนไขที่ตรวจสอบ ) {
คำสั่งที่ต้องการให้ทำถ้าเงื่อนไขเป็นจริง
...................................................
} else if( เงื่อนไขที่ตรวจสอบ ) {
คำสั่งที่ต้องการให้ทำถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จ
...................................................
} else {
คำสั่งที่ต้องการให้ทำถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จ
...................................................
}
เริ่ม ต้นให้เขียน if ตามด้วยวงเล็บเปิดใส่เงื่อนไขที่ต้องการตรวจสอบลงไปแล้ววงเล็บปิด ถ้าผลการตรวจสอบเงื่อนไขเป็นจริงให้ทำคำสั่งที่ระบุภายในปีกกา ถ้าผลการตรวจสอบเงื่อนไขเป็นเท็จให้มาตรวจสอบเงื่อนไขต่อไปเป็นจริงให้ทำคำสั่งที่ระบุภายในปีกกา แต่ถ้าตรวจสอบเงื่อนไขแล้วเป็นเท็จหมดทุกเงื่อนไขจะทำคำสั่งที่อยู่หลัง else ซึ่งจะเป็นส่วนที่อยู่ท้ายสุด
ตัวอย่างที่ 3
สมมุติว่าต้องการจะแสดงผลทางหน้าจอ ถ้าอายุมากกว่า 50 ให้แสดงคำว่า "Old" ถ้าอายุมากกว่า 30 ให้แสดงคำว่า "Adult" ถ้าน้อยกว่า 30 ให้แสดงคำว่า "Teen" และถ้าอายุน้อยกว่า 0 หรือมากกว่า 100 ให้แสดงคำว่า "Error"
<?php
if(($age>100) || ($age<0)) {
echo "Error";
} else if($age>50) {
echo "Old";
} else if($age>30) {
echo "Adult";
} else {
echo "Teen";
}
?>
[PHP] ตัวดำเนินการทางตรรกะ
ตัวดำเนินการทางตรรกะเป็นตัวดำเนินการที่ใช้เชื่อมค่าความจริงต่างๆ ซึ่งเราจะต้องนำไปใช้ในคำสั่งที่เป็นเงื่อนไขพวกคำสั่ง IF เพื่อนำตัวดำเนินการนี้ใช้ในการตรวจสอบเงื่อนไขให้ได้ผลลัพธ์เป็นค่าจริง(True) หรือค่าเท็จ(False) ตัวดำเนินการทางตรรกะจะมี 4 ตัว คือ
1. And
ตัวดำเนินการ And จะใช้สัญลักษณ์ && หรือ and ในการเชื่อมค่า เช่น
($a<$b) && ($c>$d)
($a<$b) and ($c>$d)
2. Or
ตัวดำเนินการ Or จะใช้สัญลักษณ์ || หรือ or ในการเชื่อมค่า เช่น
($a<$b) || ($c>$d)
($a<$b) or ($c>$d)
3. xor
ตัวดำเนินการ xor จะใช้สัญลักษณ์ ^ หรือ xor ในการเชื่อมค่า เช่น
($a<$b) ^ ($c>$d)
($a<$b) xor ($c>$d)
4. Not
ตัวดำเนินการ not จะใช้สัญลักษณ์ ! ในการเชื่อมค่า เช่น
!($a<$b)
บางคนอาจจะยังไม่เข้าใจ เพราะยังไม่เห็นภาพต้องศึกษาในบทต่อๆ ไป และลองลงมือทำ
1. And
ตัวกระทำที่ 1 | ตัวกระทำที่ 2 | And |
---|---|---|
True | True | True |
True | False | False |
False | True | False |
False | False | False |
ตัวดำเนินการ And จะใช้สัญลักษณ์ && หรือ and ในการเชื่อมค่า เช่น
($a<$b) && ($c>$d)
($a<$b) and ($c>$d)
2. Or
ตัวกระทำที่ 1 | ตัวกระทำที่ 2 | Or |
---|---|---|
True | True | True |
True | False | True |
False | True | True |
False | False | False |
ตัวดำเนินการ Or จะใช้สัญลักษณ์ || หรือ or ในการเชื่อมค่า เช่น
($a<$b) || ($c>$d)
($a<$b) or ($c>$d)
3. xor
ตัวกระทำที่ 1 | ตัวกระทำที่ 2 | And |
---|---|---|
True | True | False |
True | False | True |
False | True | True |
False | False | False |
ตัวดำเนินการ xor จะใช้สัญลักษณ์ ^ หรือ xor ในการเชื่อมค่า เช่น
($a<$b) ^ ($c>$d)
($a<$b) xor ($c>$d)
4. Not
ตัวกระทำ | And |
---|---|
True | False |
False | True |
ตัวดำเนินการ not จะใช้สัญลักษณ์ ! ในการเชื่อมค่า เช่น
!($a<$b)
บางคนอาจจะยังไม่เข้าใจ เพราะยังไม่เห็นภาพต้องศึกษาในบทต่อๆ ไป และลองลงมือทำ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)